วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

พระสมเด็จ ... เล่าไปเรื่อย ๆ #๑

๙ มกราคม ๒๕๖๑
         
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๑  ขอพลังบารมีพระสิงห์ ๑ พระเจ้าสุทโธทนะ  สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี  หลวงพ่อทวด  ท้าวเวสสุวรรณ  ท้าวยมสฺส  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ทุกท่านเคารพนับถือโปรดอำนวยพรให้ทุกท่านจงมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข เจริญในหน้าที่การงาน ทรัพย์สินโชคลาภเพิ่มพูน  สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  และสุดท้ายเจริญในทางธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานต่อไป

ห่างหายจากบล็อกไปกว่าสองปี  ว่าจะกล่าวถึงพระสมเด็จที่มีเนื้อหาอีกแบบ (บางท่านว่าเป็นเนื้อปูนสุก) และพระสมเด็จหลังอักษรจีน แต่ก็ยังไม่มีเวลาพอ  การนำพระและข้อมูลมาให้ชมและศึกษากันจำเป็นต้องอาศัยการค้นคว้า การเรียบเรียง การจัดภาพถ่าย ฯลฯ ซึ่งต้องใช้เวลาว่างพอสมควร  แต่ด้วยภาระหน้าที่ ทำให้ไม่มีเวลาว่างพอที่จะดำเนินการเช่นนั้น  จึงคิดว่า น่าจะนำเสนอแบบไม่เป็นหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งโดยเฉพาะจะดีกว่า คือ เพียงแค่มีเวลาพอที่จะหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่มาถ่ายภาพพระแล้วลงเว็บบล็อกเลย  ก็จะทำให้ทุกท่านได้มีโอกาสศึกษาและชมภาพพระต่าง ๆ ไปได้เรื่อย ๆ แม้ว่าภาพอาจจะไม่สมบูรณ์ดีนัก  แต่ก็ยังดีกว่าห่างหายกันไปเลย


องค์แรกที่นำมาให้ชมและศึกษากัน มีภาพติดอยู่ในเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เนื้อหาเป็นธรรมชาติงดงามมาก

















----------------------------------------------------------



๑๐ มกราคม ๒๕๖๑

พระสมเด็จ พิมพ์ไกเซอร์




















ข้อมูลเพิ่มเติมค่อยมาว่าต่อ ...

----------------------------------------------------------


๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑


พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ หรือ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร มีประวัติที่น่าสนใจมาก ...
บันทึกประวัติศาสตร์แห่งสยามชาติ ระบุว่า  ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๑๒ เมื่อข่าวแพร่สะพัดจากราชสำนักว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีหมายกำหนดการจะเสด็จประพาสต่างประเทศเป็นครั้งแรก  สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จึงนำแม่พิมพ์พระที่เคยออกแบบไว้ในคราวทำบุญแซยิด พ.ศ. ๒๓๙๐ ออกมา ให้นายจอน (วงศ์ช่างหล่อ) กับหลวงวิจารณ์เจียรนัย ตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง
จากบันทึกของหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัดอัมรินทราราม พระภิกษุผู้ใกล้ชิดสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ระบุว่า  ในชั้นแรกสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ตั้งใจจะพิมพ์ให้ครบ ๕๐๐ องค์  แต่พอพิมพ์ได้ ๓๐๐ กว่าองค์ แม่พิมพ์ก็แตก  (ความจริงแม่พิมพ์นี้ยังมีอยู่อีกหลายแม่พิมพ์ และใช้พิมพ์พระในวัง  ... ติดตามหาข้อมูลได้จากกรุสมบัติหลวงวิจารณ์เจียรนัย)
พระสมเด็จพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตร ที่ว่านี้เป็นพระเครื่องเนื้อปูนปั้นองค์ขนาดเขื่องพอ ๆ กับกล่องไม้ขีด  เมื่อได้พระผงที่ผ่านการผึ่งจนแห้งแล้ว สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี นำไปทำการปลุกเสกนานถึง ๓ เดือน หรือตลอดช่วงเข้าพรรษา  พอออกพรรษาได้นำพระผงมาแช่น้ำมนต์อีก ๗ วัน จึงเก็บใส่พานปิดคลุมด้วยผ้ากราบไว้เป็นอย่างดี เตรียมทูลเกล้า ฯ   และก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ฯ ประพาสต่างประเทศ ๗ วัน สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จึงนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย ๒๐๐ องค์ เพื่อให้พระองค์และข้าราชบริพารผู้ติดตามใกล้ใช้เป็นเครื่องคุ้มครองภัยระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านเมืองอื่น
เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ขุนนางและข้าราชบริพารในราชสำนักว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำพระเครื่องพิมพ์นี้ไปกับพระองค์ทุกครั้งในการเสด็จ ฯ ประพาสต่างประเทศนับตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๑๓ เสด็จ ฯ ประพาสเมืองสิงค์โปร์ เขตการปกครองของอังกฤษ  เมืองปัตตาเวียกับเมืองสุมารัง เขตการปกครองของฮอลันดา ขณะทรงพระชนมายุ ๑๗ พรรษา  และหลังพระบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ได้ ๒ ปีถัดมา วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๑๔ เสด็จ ฯ ประพาสพม่าและอินเดีย เขตการปกครองของอังกฤษ
จนกระทั่งพุทธศักราช ๒๔๔๐ ขณะทรงพระชนมายุได้ ๔๔ พรรษา ได้เสด็จเยือนยุโรปเป็นครั้งแรก  ซึ่งการเสด็จ ฯ เยือนยุโรปในครั้งนี้เอง พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรจึงได้เผยความศักดิ์สิทธิ์แสดงอภินิหารให้ปรากฏต่อสายพระเนตรจักรพรรดิแห่งเยอรมันและข้าพระบาทของพระองค์ ...



ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดอินทรวิหาร


... ระหว่างทรงมีพระราชปฏิสันถารอยู่นั้น  จักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน ทอดพระเนตรเห็นแสงรัศมีแวววามเรืองรองด้วยสีแดงเหลืองเขียวรอบกระเป๋าฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงรับสั่งถามด้วยความฉงนพระทัยว่า  "แสงหลากสีที่กระจายอยู่รอบกระเป๋าของพระองค์เกิดขึ้นได้อย่างไร ...  มีสิ่งใดอยู่ในนั้น ..." 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สดับแล้วทรงก้มพระพักตร์ทอดพระเนตรลงไปยังกระเป๋าฉลองพระองค์แล้วทรงพระสรวล ก่อนจะหยิบพระสมเด็จวัดระฆังที่ได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายจากสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อมตะเถระแห่งสยาม ออกมาให้จักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน ทอดพระเนตร 
จักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน ทรงถามว่า  "ปูนหรือ"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสตอบว่า  "หามิได้ เป็นพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่ชาวสยามผู้นับถือในพุทธศาสนาทุกคนให้ความเลื่อมใสศรัทธา"
จักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน ทรงทอดพระเนตรอย่างสนพระทัย แล้วจึงมีพระราชปฏิสันถารต่อไปว่า  "แล้วสิ่งนี้จะใช้เพื่อประโยชน์การใดต่อผู้เลื่อมใสศรัทธา"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสตอบว่า  "คนไทยชาวพุทธนิยมพกติดตัวไว้ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะมาถึง"  เวลานั้นสายตาทุกคู่ของข้าราชบริพารทั้งจากสยามและเยอรมัน ต่างเพ่งมองไปยังพระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ด้วยความสนใจกันถ้วนทั่ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นในความสนพระราชหฤทัยของจักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน  หลังจากตรัสแล้วจึงทรงยื่นพระหัตถ์ส่งให้ประมุขแห่งเยอรมัน ก่อนจะรังสั่งว่า  "ขอถวายแด่พระองค์ไว้เป็นที่ระลึกในวโรกาสที่ได้พบกันอย่างอบอุ่นครั้งนี้"
เมื่อจักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน รับไว้แล้วทรงพิจารณาและรับสั่งถามเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังในพระหัตถ์อยู่พักใหญ่ ก่อนจะอัญเชิญไว้ในกระเป๋าฉลองพระองค์ เช่นเดียวกับที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญเก็บไว้ก่อนหน้านี้   ...ทันใดนั้น แสงรัศมีอันเรืองรองแวววาวก็ฉายสาดออกมานอกกระเป๋าฉลองพระองค์ พร้อมกับเสียงฮือดังขรมทั่วท้องพระโรง  ขณะที่จักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน ก็ทรงพระสรวลด้วยความปลื้มปีติและอัศจรรย์ใจ
เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๔๐ ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ เยือนอิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย สวีเดน เดนมาร์ค อังกฤษ และเข้าสู่อาณาจักรเยอรมนี เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สิ้นชีพิตักษัยไปแล้วเป็นเวลานานถึง ๒๕ ปี  แต่พระองค์ท่านยังคงมีส่วนสำคัญในการประคับประคองสยามประเทศให้พ้นภัยในยามที่ประเทศชาติตะวันตกพยายามมุ่งกอบโกยผลประโยชน์เหนืออธิปไตยสยาม  ด้วยพระราชไมตรีอันดีที่มีต่อกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและประมุขแห่งเยอรมันนับแต่ครั้งนั้น   ทั้งสองพระองค์จึงเป็นสหายรักกันอย่างจริงใจ  และต่อมาภายหลังจักรพรรดิไกเซอร์วิลเฮล์ม ที่ ๒ แห่งเยอรมัน ทรงมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปขัดขวางมิให้ฝรั่งเศสกระทำการเหิมเกริมต่อสยามในระยะสมัยของลัทธิล่าอาณานิคม  ด้วยการเสนอให้มีการประชุมระดับนานาชาติ โดยเน้นย้ำให้ฝรั่งเศสยุติพฤติกรรมการคุกคาม จนฝรั่งเศสต้องเข็ดขยาดและผ่อนปรนต่อสยามมากขึ้น

ขอขอบคุณ : ตำราพระสมเด็จวัดระฆัง จากโครงการศึกษาค้นคว้าชีวิตและผลงานพระอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ของ วิญญู บุญยงค์


----------------------------------------------------------


๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓






พระสมเด็จพิมพ์นี้หลวงวิจารณ์เรียก พิมพ์พระแก้ว คือ มี ๒ หู และผ้าทิพย์ ๒ เส้น  เป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่มีเนื้อหามวลสารตามตำรา  ไม่ใช้ปูนเพชรอย่างพระวังหน้า




นิตยสารบุญพระเครื่องเคยนำมาลงหน้าปก















พิมพ์ต่อมาเป็นพิมพ์ที่รู้จักกันดีในนาม พิมพ์ลุงพุฒ (ประวัติชื่อพิมพ์ค้นหาได้ในเน็ต)





หลวงวิจารณ์เรียกว่า พิมพ์สุโขทัย
































----------------------------------------------------------

๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓


(ผมถ่ายภาพเอียงไปหน่อย เลยทำให้มองไม่ค่อยเห็นเส้นผ้าทิพย์ ไว้จะถ่ายภาพลงเพิ่มเติมครับ)























พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่อีกองค์หนึ่ง ที่มีเนื้อหามวลสารงดงาม พิมพ์นี้น่าจะตรงกับพิมพ์ที่หลวงวิจารณ์เรียกว่า “พิมพ์อู่ทอง”  กล่าวคือ หูซ้ายสั้น ๆ  และมีเส้นผ้าทิพย์ ๑ เส้น


(ผมถ่ายภาพเอียงไปหน่อย เลยทำให้มองไม่ค่อยเห็นเส้นผ้าทิพย์ ไว้จะถ่ายภาพลงเพิ่มเติมครับ)




















ลองพิจารณาดูว่าตรงกับพิมพ์เสี่ยดม หรือพิมพ์ที่คุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ หรือเฮียเท้า หรือนามปากกาว่า นิรนามเขียนถึงพระองค์นี้ไว้ในนิตยสารพรีเชียส ฉบับรวมเล่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๘ หรือไม่ว่า

“...สำหรับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ ๑ พิมพ์นี้มีน้อยมาก เท่าที่จะหาให้ท่านผู้อ่านที่เคารพได้ชม ก็มีเพียง ๑ องค์เท่านั้น ตั้งใจจะหามาสัก ๒ องค์ เพื่อนำมาลงให้ท่านผู้อ่านได้เปรียบเทียบ แต่ก็หาไม่ได้


4 ความคิดเห็น:

  1. พิจารณาแล้ว..มีข้อสงสัยว่าตามบันทึกของหลวงปู่คำท่านจะรู้จักพิมพ์ไกเซอร์ล่วงหน้าได้อย่างไรในเมื่อ ร.5 ทรงโปรดให้เรียกพิมพ์ไกเซอร์นี้ภายหลังที่ทรงเสด็จกลับจากประพาสยุโรป(เยอรมันนี)ราวปี พ.ศ.2444 แต่ที่หลวงปู่คำบันทึกไว้คือปี2415-2421ชึ่งก่อนหน้าเกือบ23ปี..สรุป..สมเด็จไกเซอร์มีจริงแน่แต่จะไม่ใช่พิมพ์ที่มีฐานรองรับเป็นดอกบัว5กลีบตามที่หลวงปู่คำบันทึกไว้แน่นอนหากแต่จะต้องเป็นพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรมีพระเกศพิมพ์เขื่องเท่ากลักไม้ขีดขนาดประมาณ3.75×5.50ซม.เนื้อโปร่งเหลืองโหรดาลมวลสารจัดจ้านและมีคราบรักสีดำหลังพระลัญจกรตามแบบฉบับสกุลช่างหลวงวัดระฆังที่สมเด็จโตฯท่านมีดำริให้นำพิมพ์เก่าเมื่อปี2390มาปรับแก้ไขแล้วกดพิมพ์ใหม่ในปี2413(ที่ไม่ใช่พิมพ์แบบของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีขนาดปกติและเล็กกว่าพิมพ์เขื่อง)..นั่นเอง

    ตอบลบ
  2. ของผมก็มีอยู่หนึ่งองค์ครับเรียกว่ามีประสบการณ์น่านับถือมากๆครับ

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ