วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

รวมภาพพระสมเด็จวังหน้า ตอนที่ ๑

          พระสมเด็จวังหน้า มีพิมพ์ต่าง ๆ หลากหลายนับร้อยพิมพ์   เกจิอาจารย์ในรุ่นหลังหลายต่อหลายท่านได้นำแบบพิมพ์พระสมเด็จวังหน้ามาใช้สร้างพระพิมพ์ของท่าน   พิมพ์พระจึงมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน   แต่อย่างไรเสีย ด้วยเนื้อหามวลสารที่นำมาใช้สร้างพระสมเด็จวังหน้านั้นมีความพิเศษแตกต่างจากพระในสกุลอื่น ๆ   และโดยธรรมชาติของพระที่มีอายุกว่า ๑๔๐ ปี ย่อมแตกต่างจากพระที่สร้างขึ้นในยุคหลัง   การแยกแยะจึงคงไม่เป็นการยากเกินไปนัก
          ภาพพระสมเด็จวังหน้าที่นำมาลงไว้นี้   เป็นส่วนหนึ่งที่ผมบูชาสะสมไว้   ซึ่งมีไม่ครบทุกพิมพ์ทุกเนื้อหา    ชื่อของพิมพ์พระนั้นก็ระบุเท่าที่พอจะทราบ   อาจจะผิดพลาดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้   โดยจะทยอยนำภาพลงเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษากันครับ
          สำหรับประวัติความเป็นมาของพระสมเด็จวังหน้านั้น   ผมขอเวลาในการเรียบเรียงสักระยะ   แต่ผู้ที่สนใจสามารถสืบหาข้อมูลได้จากแหล่งที่แนะนำดังนี้ คือ
          ๑. หนังสือ "วิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จและพระสมเด็จท่านเจ้าคุณกรมท่า เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)" โดย ปรัศนี ประชากร (นามปากกาของ อาจารย์ประถม อาจสาคร) ที่หอสมุดแห่งชาติ
https://youtube.com/watch?v=fFtcWJtoR48&list=PLSzEDbRvtNUzkvwQowaWcZxXapDkuUqM8&index=20&t=847s

          ๒. หนังสือ "สมเด็จโตกับของขลังที่วังหน้า" โดย อ่ำแดง บางกอกน้อย


          ข้อมูลบางส่วนจากบางแหล่งข้อมูลอาจมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันอยู่บ้าง   อย่าเพิ่งถือเป็นยุติ   ขอให้ใช้เป็นฐานข้อมูลในการศึกษาค้นคว้ากันต่อไป


พิมพ์ใหญ่ ปัญจสิริ
          สภาพพระแตกกระเทาะตามขอบ  ขาดความสมบูรณ์ไปบ้าง   แต่ที่ผมนำพระองค์นี้ให้ชมเป็นองค์แรก  เพราะพิมพ์พระมีความงดงาม  ผิวองค์พระถูกจับไปด้วยคราบกรุ แต่หากสังเกตให้ดีจะเห็นความงามของวรรณะสีต่างๆที่อยู่ภายใน   ที่องค์พระอยู่ในสภาพแตกกระเทาะตามขอบนั้นเนื่องจากขาดการดูแลเอาใจใส่   ผู้ขายวางกองปนอยู่กับพระองค์อื่นในราคาถูก   จึงเกิดการกระทบกระทั่งและแตกหักเสียหายได้ง่าย   เมื่อให้ผู้ที่มี็ฌาณสมาธิจับพลังที่แฝงอยู่ภายในแล้วพบว่าพลังออกมาอย่างรวดเร็วและสูงล้ำยิ่ง   เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าหากเราใช้ความสังเกตพิจารณาให้ดีแล้วก็อาจจะพบพระที่มีคุณค่าสูงเช่นนี้ได้ตามแผงพระทั่วไป   ช่วยกันนำท่านขึ้นมาบูชาเถิดครับ




พิมพ์ใหญ่ ปัญจสิริ




พิมพ์ใหญ่ ปัญจสิริ
          พระสมเด็จวังหน้า พิมพ์ใหญ่ วรรณะปัญจสิริหรือเบญจสิริ สององค์นี้  เป็นพิมพ์ทรงพระประธานบนฐานสามชั้นทำนองเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง   มีมวลสารปรากฏในเนื้อพระให้เห็นชัดเจนจำนวนมาก   และยังมีเศษตะไบทองแทรกอยู่ทั่วไป   ที่สำคัญคือเนื้อพระประกอบด้วยมวลสารหลากสี ทั้งน้ำเงิน เหลือง เขียว ชมพู ขาว รวมห้าสี หรือเบญจะ (องค์อื่นอาจมีสีอื่นแตกต่างกันไป)     ซึ่งการกดพิมพ์พระใช้วิธีนำมวลสารสีต่างๆกดด้วยมือทีละสี แต่ละสีจะไม่ผสมรวมกัน   จึงมีความงดงามในแต่ละองค์แตกต่างกันไป   ของปลอมมีพบเห็นได้ทั่วไปในสนาม  ให้สังเกตความเก่าของเนื้อพระ  ความแห้งแกร่ง  และสีเก่า (หากเป็นสีใหม่จะออกสด แต่ไม่สวย ขาดความงามอย่างธรรมชาติ)   และให้ระวังลายสีที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงหรือริ้วสีซึ่งวิธีการปลอมอาจกระทำโดยนำมวลสารสีต่างๆมาม้วนรวมกันแล้วกดพิมพ์ทีเดียว   มิใช่การกดพิมพ์ทีละสีซึ่งต้องใช้จินตนาการของช่างผู้สร้างสรรค์ และใช้เวลานาน   นอกจากนี้อาจสังเกตได้ด้วยการดมกลิ่น   พระแท้บรรจุในหีบอย่างดี เก็บรักษาไว้บนเพดานโบสถ์วัดพระแก้ววังหน้า  ถูกความร้อนแผดเผาผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปี    ไม่มีกลิ่นหลงเหลือให้ดม   นอกจากเจ้าของเดิมจะนำไปเก็บไว้ในสถานที่ที่มีกลิ่นแรง  เช่น ในตู้ที่มีกลิ่นอับ   พระก็จะติดกลิ่นดังกล่าวมา   แต่หากนำมาผึ่งอากาศไม่นานก็หาย   ส่วนพระปลอมดมกลิ่นทีก็ทราบได้ครับ



พิมพ์เส้นด้าย
          เนื้อพระแบบองค์นี้ผมชอบมากครับ   แห้ง แกร่ง ปรากฏมวลสารขนาดใหญ่ให้เห็นหลายแห่ง โดยเฉพาะตามขอบองค์พระ  มีลักษณะดั่งพระธาตุหรือจะแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุ



พิมพ์ใหญ่ เนื้อศิลาธิคุณ




พิมพ์ใหญ่ เนื้อศิลาธิคุณ
          เนื้อศิลาธิคุณ หรือเนื้อหินอ่อนจากศิลาจารึกพระคาถาธรรมิกราช   อาจารย์ประถม อาจสาคร กล่าวว่า สร้างโดยวิธีจารพระคาถาลงในแผ่นหินแล้วนำมาย่อยป่นในเนื้อพระ มีสรรพคุณทางกันอหิวาตกโรค   หินอ่อนนี้ยังมีฝังอยู่ที่สระน้ำวัดระฆังและสระน้ำวัดอินทรวิหาร


 พิมพ์พระประธานแหวกม่าน


พิมพ์ไกเซอร์


พิมพ์พระประธาน ลงรักล่องชาด


พิมพ์จอมจักรพรรดิ์
          องค์นี้มีความงดงามมากครับ ทั้้งพิมพ์ทรงและเนื้อหา  เห็นฝีไม้ลายมือช่างสิบหมู่ชั้นครูที่บรรจงรังสรรค์ตามจินตนาการ   มิใช่ปั้นแต่งแข่งกับเวลาหรือผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างปัจจุบัน


พิมพ์ปรกโพธิ์ ทรงสังฆาฏิ ปัญจสิริ


 พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ลงรักล่องชาด
          สังเกตสภาพและสีของ รัก ชาด เอาไว้ครับ    อีกส่วนหนึ่งที่เป็นจุดสังเกตได้อย่างดีคือ ลายงาหรือรอยแตกเล็กๆที่เนื้อพระ   จะเห็นเป็นสีชมพูงดงามยิ่งนัก   เกิดจากชาดที่ซึมเข้าไปในเนื้อพระซึ่งต้องอาศัยกาลเวลายาวนานนับร้อยปี     โดยนัยส่วนตัว อกครุฑ บ่งถึง บารมีแผ่ไพศาล   เศียรบาตร บ่งถึง ปัญญาดี


 พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ขนาดเขื่อง
          เนื้อพระมีความแห้งและแกร่งมากๆ  เหมือนหินดีๆนี่เอง  เข้าใจเลยว่า ดินเกาลิน หรือปูนกังไส เป็นอย่างไร   เนื้อสวยๆแบบนี้ผมเพิ่งพบองค์เดียว  ชอบมากเป็นพิเศษครับ


 พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ขนาดเขื่อง ลงรักล่องชาด


พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร ขนาดเขื่อง ลงรักล่องชาดปิดทอง


พิมพ์เกศชฎาพรหม


พิมพ์พระสีวลี ลงรักล่องชาด
เนื้อแกร่งสวยๆแบบองค์นี้แหละครับ   เห็นที่ใดให้รีบเก็บไว้


พิมพ์เจดีย์สามสิงห์


พิมพ์พระประธานแหวกม่าน  ฝังพระธาตุและลูกปัด
          องค์นี้ ผู้มี็ฌาณสมาธิบอกว่า นิมิตเห็นฤษีผมยาวเกือบถึงขา มีอิทธิฤทธิ์ และมีอัตตาสูง  พลังทิ่มแทงเข้ามือเหมือนเข็ม   และทราบจากผู้รู้ว่า หากลูกปัดเป็นสี น้ำเงิน, ส้ม, เขียว จะมีพลังแรงกว่า


 พิมพ์ชฎาพรหม หลังครุฑ


พิมพ์พระประธานทรงพญาวานร ลงรักล่องชาด
เป็นองค์ครูอีกองค์ที่เห็น รัก ชาด ซึมเข้าไปในรอยงาสวยๆ


พิมพ์พระประธาน สามสิงห์


 พิมพ์พระพุทธชินราช ขนาดเขื่อง วรรณะสัตตสิริ (เขียว) ลงรักปิดทอง


 พิมพ์พระพุทธชินราช


พิมพ์พระพุทธโสธร ลงรักล่องชาด หลังครุฑ


 พิมพ์พิเศษ


 พิมพ์พิเศษ


 พิมพ์พิเศษ


 พิมพ์พิเศษ


พิมพ์พิเศษ


พิมพ์พิเศษ


พิมพ์พุทธซ้อน


พิมพ์ยอดขุนพล


พิมพ์ยอดขุนพล ปัญจสิริ


พิมพ์พิเศษ สองหน้า ปิดทองล่องชาด
          พระปลอมที่ทำขึ้นในยุคหลังนี้เห็นมีหลายองค์ หลายพิมพ์ที่พยายามเลียนแบบการปิดทองล่องชาด   บางองค์ก็เป็นการทาสี   ให้ดูองค์นี้เป็นองค์ครูได้ครับว่า ชาดและทองที่เก่าถึงยุคเป็นอย่างไร


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต ข้างฉัตร


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต ซุ้มระฆัง ล่องชาดรัก
สององค์ข้างบนนี้ เนื้อแห้งแกร่ง ได้ใจมากครับ  พลังก็สูงล้น   เป็นอีกสององค์ที่ชอบเป็นพิเศษอีกแล้ว


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต ซุ้มบัว


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต ซุ้มลายกนก


พิมพ์แสดงปฐมเทศนา ล่องชาดรัก


พิมพ์พระประธานฐานบัว ปัญจสิริ ขนาดเขื่อง


พิมพ์พระประธานฝังพลอย ขนาดเขื่อง


 พิิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน


พิมพ์เก๋งจีน ไตรโลกอุดร หรือ พิมพ์ซุ้มวังหน้า


พิมพ์อมิตตาพุทธะตรีกาย ปัญจสิริ


พิมพ์อะระหัง เกศอุณาโลมทรงเครื่อง


 พิมพ์อะระหัง เกศอุณาโลมทรงเครื่อง วรรณะสัตตสิริ (เขียว)
          พิมพ์อะระหัง สององค์นี้เป็นพิมพ์ที่งดงามตามแบบของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)  พระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)   เนื้อพระแห้งแกร่ง  ปรากฏมวลสารขนาดใหญ่โดยเฉพาะตามขอบขององค์พระ   ลักษณะเม็ดพระธาตุ


พิมพ์ใหญ่ ฝังพระธาตุอรหันต์


พิมพ์ใหญ่ หลังลายดอกพิกุล


 พิมพ์แจวเรือ


พิมพ์พระพุทธชินราช ปิดทองล่องชาด


 พิมพ์เจ้าแม่กวนอิม ล่องชาดรัก
          หวังในใจว่าอยากจะได้พิมพ์เจ้าแม่กวนอิม   และก็ได้พบสมดังที่ใจหวังไว้ครับ  แถมเป็นองค์ที่เนื้อพระสวยมาก   และมีตราครุฑที่ด้านหลัง   เนื้อแบบนี้และครุฑลักษณะนี้แหละครับ มีพลังที่แฝงไว้อย่างล้นเหลือ



พิมพ์พญานาคกนก หรือ พิมพ์ฉัตรสามชั้้น


 พิมพ์ใหญ่ เกศทะลุซุ้ม


พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต กึ่งลอยองค์ ฝังพลอย
          เลี่ยมพระไว้บูชาขึ้นคอ อย่าเลี่ยมพลาสติกกันน้ำแบบนี้นะครับ  พลังที่แฝงไว้ภายในองค์พระจะออกมาคุ้มครองไม่ได้   พลังนั้นมีอากาศเป็นสื่อ   เหมือนกับไฟฟ้าที่อาศัยตัวนำเช่นสายไฟ   หากปิดทึบหมดเสียแล้วย่อมไม่ได้รับพลังจากองค์ท่าน   สิ่งดีๆก็จะไม่บังเกิด หรือเกิดขึ้นได้ช้า   แถมอาจจะทำให้เนื้อพระเสียหายด้วย  เนื่องจากเนื้อพระแห้งมาก  และไม่ได้รับความชุ่มชี้นจากอากาศ   เหมือนปูนที่แห้งย่อมจะบิ่นหรือแตกหักได้ง่าย



ปรับปรุงล่าสุด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔




เพิ่มเติม ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖
การขอให้ตรวจสอบพระพิมพ์
          มีหลายท่านส่งรูปภาพพระพิมพ์มาให้ช่วยตรวจช่วยดูให้   หลายท่านก็โพสถามโดยเพียงบอกลักษณะพิมพ์ให้ทราบ     ต้องบอกกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันนะครับว่า   ผมมิได้มีญาณวิเศษที่จะหยั่งรู้ตอบให้ทราบได้โดยอาศัยข้อมูลเพียง “ข้อความ” ที่โพสถามกันมา  แม้เพียงรูปก็ไม่มีให้เห็น   ใครตอบได้ก็คงบอกได้ทันทีเหมือนกันว่า โกหก แน่นอน

          สำหรับรูปที่ส่งกันมาถาม   ก็มักไม่ชัดเจน ความละเอียดของภาพน้อยมากๆๆๆๆ   แม้แต่ส่องกล้ององค์จริงแล้วบางครั้งยังดูกันไม่ขาดเลยครับ   นับประสาอะไรกับภาพเบลอ ๆ     จึงขอความกรุณาท่านที่ประสงค์จะให้ช่วยตรวจช่วยดูพระพิมพ์ว่า   ขอให้ส่งรูปที่มีความความละเอียดสูงๆ   ภาพคมชัด   สีสันถูกต้องหรือใกล้เคียงกับองค์จริงนะครับ   ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ผมคงตอบให้ได้แค่เพียงว่า  “ไม่ทราบครับ”