วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ พิมพ์ขอบล่างฟันหนู

          พระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนู     ชื่อฟังดูแปลกและไม่คุ้นหู   เพราะไม่เป็นที่นิยมของเซียนทั้งหลาย   จึงไม่ใคร่ได้ถูกกล่าวถึงในตำราหรือนิตยสาร     ความจริงแล้ว พระสมเด็จพิมพ์นี้มีความงดงามในพุทธศิลป์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพิมพ์ใด   หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นพิมพ์ที่งดงามที่สุดก็ว่าได้

          เหตุที่พิมพ์นี้ไม่ใช่พิมพ์นิยมของวงการเซียนพระ   อาจเป็นได้ว่า ในอดีตที่ผ่านมาไม่ปรากฏพระพิมพ์นี้   เมื่อไม่รู้จัก จึงไม่มีการเล่นหาหรือสะสม

          หนังสือ "พระสมเด็จวัดระฆัง" ของ "ขจรพรรณ  สวยฉลาด"   ให้ข้อมูลไว้ว่า เป็นพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ กลุ่ม E (คือกลุ่มพิมพ์ที่ไม่เป็นที่นิยม)






         
          พระสมเด็จพิมพ์นี้ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกไว้    มีพลังพุทธคุณสูงล้ำไม่น้อยไปกว่าพระวังหน้า หรือ วังหลวง     พลังออกจะมาแรงและเร็วกว่าพระวังหน้าหลาย ๆ องค์ด้วยซ้ำไป    

          เมื่อพิจารณาถึงพลังพุทธคุณดังกล่าวประกอบกับความไม่เป็นที่รู้จักของเซียนพระแล้ว   ทำให้เกิดข้อสงสัยเป็นคำถามคาใจว่า พระพิมพ์นี้เป็น พระวัดระฆัง หรือ เป็นพระสายวัง กลุ่มเดียวกับพระวังหน้าหรือวังหลวง กันแน่

          ในข้อนี้ ศาสตราจารย์อรรคเดช  กฤษณะดิลก ได้บรรยายไว้ในหนังสือ "จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง"   ให้ชื่อเรียกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังวังหลวง"   โดยหมายถึง พระสมเด็จที่สร้างขึ้นในวัดระฆัง   ปลุกเสกโดย สมเด็จพุฒาจารย์โต   แล้วนำไปเก็บรักษาในวัดซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐาน






เป็นข้อมูลไว้ให้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป



*** พระสมเด็จ พิมพ์ขอบล่างฟันหนู 3 องค์นี้   หลวงพ่อถวัลย์ วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ท่านได้เมตตามอบให้ไว้บูชาเมื่อคราวที่ไปกราบนมัสการเมื่อต้นปีที่แล้ว



องค์ที่ 1




องค์ที่ 2




องค์ที่ 3


          ทั้งสามองค์นี้ จะเห็นได้ว่าพระอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ แห้ง   มิใช่แห้งเฉพาะเนื้อพระ   แต่ผิวพระก็แห้ง ไม่มีคราบมันเจือปน   แสดงให้เห็นถึงการเก็บรักษาที่ไม่ผ่านการจับต้องใด ๆ    และมีลักษณะของคราบสีเหลืองปกปิดผิวพระอยู่ทุกองค์     เข้าใจว่าน่าจะเป็น ขมิ้น ซึ่งคนโบราณโรยไว้เพื่อรักษาเนื้อพระ เช่นเดียวกับพระอื่น ๆ ที่พบที่วัดพระธาตุแม่เจดีย์นี้     หากนำมาล้างเปิดให้เห็นผิวที่แท้จริงแล้วจะพบว่า   เนื้อพระออกสีขาว เป็นเนื้อปูนเพชร ที่มีมวลสารอยู่มากมาย ดังที่เห็นในภาพ

เมื่อล้างผิวแล้ว



          พระสมเด็จ พิมพ์ขอบล่างฟันหนู เท่าที่พบแล้ว มีไม่น้อยกว่า 6 แม่พิมพ์     และพบอยู่ในสภาพต่าง ๆ กัน   บางองค์ขาว เรียบนวล   บางองค์แตกลายงา  ลายไข่นกปรอด   บางองค์มีคราบฝุ่น ความชื้น   บางองค์มีคราบเหมือนยางรัก     สำหรับด้านหลังองค์พระมีแบบเรียบกับแบบหลังคลื่นหรือขั้นบันได



องค์ที่ 4 วรรณะขาว เรียบนวล (พื้นที่ส่วนใหญ่ของด้านหน้าองค์พระ)





องค์ที่ 5 แตกลายงา   หลังคลื่นหรือขั้นบันได   ถ้าสังเกตก็จะเห็นว่า ลักษณะผิวพระด้านหลังจะเหมือนกับกับพระที่พบที่วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ซึ่งล้างผิวแล้ว ตามภาพด้านบน





องค์ที่ 6 แตกลายไข่นกปรอด





องค์ที่ 7 ผิวฉ่ำ   องค์จริงส่องกล้องแล้วจะเห็นผิวฉ่ำเกือบทั้งองค์   ตามภาพคงพอพิจารณาได้ที่พระอุระ (หน้าอก) และพระพาหา (แขนท่อนบน)   ผิวพระจะใสเหมือนเป็นเกล็ดส่องเห็นผิวและมวลสารด้านใน   เข้าใจว่าองค์พระน่าจะถูกความชื้นสะสม   หากถูกล้างผิวก็จะเห็นเนื้อพระสีขาวลักษณะเดียวกับองค์ที่ 4 และ 5





องค์ที่ 8 มีคราบฝุ่นมาก และอาจโดนน้ำ จึงทำให้ปรากฏคราบดังที่เห็น





องค์ที่ 9 ปรากฏคราบเหมือนยางรักทั้งองค์




ชมภาพมุมด้านข้างเปรียบเทียบระหว่าง 
องค์ที่ 1 ด้านซ้าย  และ  องค์ที่ 5 ด้านขวา







          ปัจจุบันมีการประกวดพระพิมพ์นี้ในหมู่ผู้นิยมและสะสมบ้างตามสมควร   เช่น จากนิตยสารบุญพระเครื่อง




ผู้ที่ศรัทธาและเชื่อมั่นยังคงพอตามหาพระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนูนี้ได้ตามตลาดพระทั่วไป   พระที่เซียนเมิน พระที่สายพระไม่สนใจ พระที่แผงพระเหมามาขายในราคาถูก   แต่มีพุทธคุณสูงล้ำจึงยังคงพบเห็นอยู่เสมอ