วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม

เนื้อพระประกอบด้วยปูนเพชรเป็นหลัก   และมีน้ำปูนปกคลุมผิวมากทั้งองค์   ผ่านกาลเวลาที่ยาวนานทำให้น้ำปูนหนึกแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับเนื้อพระ   ผิวนวลขาวงดงามดั่งงาช้าง   แต่ทำให้มองหามวลสารได้ยากสักหน่อย   บางองค์สีเข้มอาจเพราะเคยลงรักมาก่อน  แม้สีรักสมุก (สีดำ) หลุ่นร่อนไปแล้วแต่ยังมียางอยู่   และอาจถูกบ่มจากสภาพแวดล้อมที่มีทั้งฝุ่นละออง ความชื้น หรือคราบอื่น ๆ





















วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพ

ราชบัณฑิตยสถาน
ปรก [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด, คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
ปรก [ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษกว่า คณะปรก
โพ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus religiosa L. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้นไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก.
โพธิ, โพธิ์  [โพทิ, โพ] น. ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).

ปรกโพ หรือ ปรกโพธิ์ จึงหมายถึง ซุ้มต้นโพที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส   แต่ในที่นี้ย่อมหมายถึง ปรกของต้นโพซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพเป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่มีความงดงาม ให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น   และเป็นพุทธานุสติให้ระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสรู้และเผยแผ่คำสอนที่ดีงามให้เราปฏิบัติ

















วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความลับของผิวพระสมเด็จ

เราท่านคงทราบดีว่า พระสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วย ปูน ผงวิเศษ มวลสารต่าง ๆ และตัวประสาน (น้ำอ้อย น้ำผึ้ง หรือตังอิ้ว)   ทราบจากการเล่าต่อ ๆ กันมา และจากตำราที่ลอกต่อ ๆ กันมา   บ้างก็บอกว่า ปูน ที่ใช้นั้นคือ ปูนเปลือกหอย ด้วยการนำเปลือกหอยมาเผา (วิธีการง่าย ๆ คือ นำเปลือกหอยแครงไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปเผาในเตาถ่านหรือใส่หม้อดินตั้งไฟเผา จนกระทั่งเปลือกหอยแครงสุก ขาว กรอบ   นำออกมาใส่ภาชนะแบบปิด แล้วใส่น้ำเข้าไปเล็กน้อย   ทิ้งไว้ไม่นานเปลือกหอยแครงจะละลายเป็นปูนขาว)   บ้างก็ว่า ปูน ที่ใช้นั้นคือ ปูนเพชร (ปูนที่เผาจากหิน)
บันทึกของพระยากัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กล่าวเพียงว่าเป็นปูนขาว แต่ไม่ได้บอกว่านำมาจากไหน   บันทึกของพระยาทิพยโกษา (สอน อุณหนันท์) กล่าวว่า เป็นปูนเพชร   ตรียัมปวาย (พันเอกผจญ กิตติประวัติ) กล่าวว่า ได้รับความรู้จากพระอาจารย์ขวัญ วิสิฎโฐ (ศิษย์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร) ว่า พระสมเด็จสร้างจากปูนเปลือกหอยเผา
อาจารย์ประถม อาจสาคร กล่าวว่า พระสมเด็จสร้างจากปูนเพชร ซึ่งเกิดจากหินบนยอดเขาเมืองอันฮุย มณฑลเสฉวน ซึ่งใช้ในการปั้นหุ่นถ้วยชามเบญจรงค์ มีการนำเข้ามาจากจีนในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕   พระสมเด็จจึงมีน้ำหนัก แตกลายงาโดยธรรมชาติเหมือนเครื่องเบญจรงค์ และทนทานต่อการกัดกร่อนจากกรดอ่อน ๆ อย่างน้ำส้มสายชู   หากเป็นปูนขาวที่ได้จากเปลือกหอยเผาแล้วจะมีน้ำหนักเบา ไม่แตกลายงาโดยธรรมชาติ และไม่ทนทานต่อการกัดกร่อน ซ้ำร้ายเมื่อทำมาจากซากสัตว์เดรัจฉานแล้วก็จะไม่มีเทพสิงสถิต
จะเชื่อข้อมูลใดก็พิจารณาไตร่ตรองกันเอาเองเถิด   ถ้าใครสามารถหาวัตถุดิบได้จะทดลองสร้างพระเพื่อหาคำตอบในข้อนี้ก็จะเป็นการพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงด้วยตนเอง  ดีกว่าเชื่อตามที่เขาว่ากันมา   อย่างไรก็ดี เราทราบอยู่ประการหนึ่งว่า พระสมเด็จต้องมีปูนขาวเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นปูนที่ผลิตจากอะไรก็ตาม   เนื้อพระสมเด็จจึงมีสีขาว เว้นแต่จะผสมสีอื่นลงไป   หากพบพระสมเด็จที่แตกหักหรือบิ่นก็จะพบว่าเนื้อในพระสมเด็จเป็นสีขาว  แตกต่างจากผิวภายนอก   เนื่องจากผิวพระต้องถูกกระทบจากสิ่งสัมผัสต่าง ๆ ทั้งความชี้น อากาศ ฝุ่น สกปรก เหงื่อไคล คราบมันจากผิวมนุษย์   แม้องค์พระจะถูกเก็บรักษาไว้ดีเพียงใดก็ตาม   ผิวพระจะเปลี่ยนแปลงไปจากเนื้อพระ

พระสมเด็จมีชีวิต

กล่าวเช่นนี้ อาจตกใจไปว่าพระสมเด็จเดินได้ พูดได้ หรือหายใจได้ หรืออย่างไร ?   ปรากฏการณ์ที่น่าทึ่งอย่างหนึ่งของพระสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี คือ ความสามารถในการงอกเงยหรือปกปิดรักษาผิวที่หักหรือบิ่น !!!     ความลับในเรื่องนี้จะทำให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องผิวพระสมเด็จได้ดียิ่งขึ้น

ตามที่ได้กล่าวถึงเรื่อง “ปูน” ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของพระสมเด็จไปแล้วข้างต้น   ท่านทั้งหลายเคยสังเกตหรือไม่ว่า ปูน ในงานก่อสร้างต่าง ๆ มีความเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา   ขณะที่เทปูนฉาบปูนเสร็จ กับ ผ่านไปเดือนสองเดือน ต่างกันอย่างไร   เมื่อเทปูนฉาบปูนเสร็จใหม่ ๆ สีปูนก็คือสีปูน เหมือนที่เห็นในขณะยังเป็นผงปูน   แต่หากปล่อยให้แห้งผ่านความร้อนความชื้นตามกาลเวลา   สีสันจะเปลี่ยนแปลงไป   กล่าวคือ จะเห็นเป็นสีขาว ๆ หรือสีอื่น ๆ (เกิดจากสภาพแวดล้อม) ขึ้นมาปกคลุม   เกิดจากอะไร ?   .....เกิดจากน้ำปูนข้างในดันตัวออกมาปกคลุมผิว   ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง ซึ่งเป็นพื้นปูนที่ผ่านเวลามาหลายเดือน เมื่อเจาะเข้าไปถึงเนื้อแล้วก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างเนื้อและผิว



ผิวภายนอกดูนุ่มนวลกว่าเนื้อภายใน


ฉันใดก็ฉันนั้น พระสมเด็จมีองค์ประกอบจากปูนเป็นส่วนสำคัญ   จึงเกิดปรากฏการณ์น้ำปูนงอกขึ้นปกคลุมผิวพระตามธรรมชาติ   ผิวพระส่วนใดที่นูนสูงกว่าส่วนอื่น ถูกสัมผัสได้ง่าย เช่น องค์พระ ฐาน ซุ้ม ผิวด้านหลัง จะแตกต่างจากผิวพระส่วนที่อยู่ลึกกว่า   นอกจากนี้ ส่วนใดของพระที่เพิ่งหักหรือบิ่นไม่นาน ก็จะยังคงเห็นเนื้อพระขาว ๆ และมวลสารที่อยู่ภายใน   แต่ส่วนใดที่หักหรือบิ่นมานานแล้วก็จะถูกน้ำปูนงอกขึ้นมาปกคลุม  ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง

 รอยบิ่นใหม่



รอยบิ่นใหม่


 รอยบิ่นกลางเก่ากลางใหม่



 รอยบิ่นกลางเก่ากลางใหม่



รอยบิ่นกลางเก่ากลางใหม่


รอยบิ่นเก่า



รอยบิ่นเก่า


เมื่อทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว   ท่านคงพอจะพิจารณาผิวพระสมเด็จได้ว่า ผิวพระสมเด็จจะมีความนุ่มนวล ไม่เรียบตึง แต่จะเห็นส่วนนูนส่วนยุบ สูงต่ำ (ส่องในแนวเอียงจึงจะเห็นได้ชัดเจนกว่า)   ผิวพระเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเนื้อพระ  (ไม่ใช่ผิวที่มีลักษณะเหมือนนำบางสิ่งบางอย่างมาโปะแต่ง ซึ่งจะมองเห็นเป็นชั้นต่างหากจากเนื้อพระ)

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์

          เมื่อมีเวลาก็จะถ่ายภาพให้ชมให้ศึกษากันเรื่อยๆ    มาในคราวนี้เป็นพิมพ์ทรงเจดีย์ ตามที่มีผู้เรียกขานมาแต่ก่อน โดยดูจากพุทธลักษณะตั้งแต่ฐานชั้นแรกจนถึงพระเกศที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมเหมือนเจดีย์   บางท่านอาจจะเรียกชื่อพิมพ์เป็นอย่างอื่นก็ตามแต่ถนัด   สำคัญว่าให้ดูที่เนื้อหาเป็นหลักตามที่ได้เน้นกล่าวไว้แล้ว

          พระสมเด็จเป็นพระเนื้อปูนปั้นผสมผงวิเศษและมวลสารต่าง ๆ    มีอายุกาลล่วงเลยมากว่า ๑๔๐ ปี (ปัจจุบันปี ๒๕๕๗)   ลักษณะพิเศษของเนื้อหาพระจะต้อง แห้ง และ แกร่ง    หากดูแล้วไม่เข้าคุณลักษณะสองอย่างนี้   ให้สงสัยไว้ก่อนว่า อาจจะปลอม





































วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ๒

          พิมพ์ใหญ่  มีหลายพิมพ์ด้วยกัน  และแต่ละพิมพ์ก็มีหลายแม่พิมพ์   หากจะเชี่ยวชาญเรื่องพิมพ์คงต้องมีสมองที่สามารถจดจำได้อย่างน่าอัศจรรย์มาก   และอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าการศึกษาโดยมุ่งไปที่พิมพ์พระมากกว่าเนื้อหาเป็นเรื่องที่ทำให้หลงทางได้ง่าย ๆ   และโอกาสที่จะมีพระสมเด็จแท้ ๆ ไว้ครอบครองบูชาก็จะเป็นเรื่องที่ห่างไกลออกไป

          ในคราวนี้มีพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่บางพิมพ์จะนำเสนอ  ให้ศึกษาเนื้อหาขององค์พระ   ดูให้ชินให้เจนตา   จะทราบว่าเนื้อหาเป็นอย่างเดียวกับพิมพ์ขอบล่างฟันหนูและพิมพ์ใหญ่ที่เคยนำเสนอมาแล้ว

          หากพระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนู คือ พระสมเด็จวัดระฆังวังหลวง   ซึ่งหมายถึง พระสมเด็จที่สร้างขึ้นในวัดระฆัง   ปลุกเสกโดย สมเด็จพุฒาจารย์โต   แล้วนำไปเก็บรักษาในวัดซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานแล้ว   พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่เหล่านี้ก็อาจจะอยู่ในข่ายเดียวกันก็เป็นได้