วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การตรวจหาอายุพระสมเด็จ


          การตรวจพระว่าแท้หรือปลอมนั้นโดยปกติจะอาศัย “ตา” เป็นส่วนใหญ่   ตาของผู้ศึกษาและสะสม  ตาของเซียน  ตาของพ่อค้า ต่างก็มีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไป   ขึ้นอยู่กับความรู้ความชำนาญตามที่ได้รับการศึกษาหรือถ่ายทอดมา   หากต้นทางที่ศึกษาหรือถ่ายทอดไม่ดีหรือผิดเพี้ยนไปเสียแล้ว   ปลายทางย่อมเพี้ยนหรือผิดทางตามไปด้วย   จึงเป็นปัญหาที่ต่างฝ่ายต่างถกเถียงกันว่าพระของตนนั้นแท้  ของอีกฝ่ายนั้นปลอม   การตรวจโดยอาศัยผู้ทรงฌาณกำหนดจิตรู้สัมผัสถึงพลังที่แฝงอยู่ภายในองค์พระ เป็นวิธีการที่แม่นยำ น่าเชื่อถือ (สำหรับผู้ที่เชื่อถือ) ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์พระที่ตรวจ มีประสิทธิภาพมากที่สุด   แต่ก็เป็นจุดอ่อนให้ผู้ที่เล่นพระโดยไม่เคยฝักใฝ่ทางธรรมได้โต้แย้ง   เพราะไม่อาจมองเห็นได้ด้วย “ตา”   ตนเองจับต้องไม่ได้   ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยัน
การนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้จึงช่วยสร้างความมั่นใจและเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ดีทางหนึ่ง   เราคงเคยได้ยินคำว่า Carbon – 14 (คาร์บอน – 14)  แต่อาจไม่ทราบว่าคืออะไร   และวิธีการนี้สามารถตรวจหาอายุของมวลสารได้อย่างไร
โลกของเราได้รับรังสีคอสมิก (cosmic rays) ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีพลังงานสูงมหาศาลจากอวกาศตลอดเวลา   เมื่อรังสีคอสมิกทะลุผ่านมายังชั้นบรรยากาศของโลกจะเข้าชนกับอะตอมของไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศ    อนุภาคนิวตรอนของรังสีคอสมิกจะเปลี่ยนอะตอมของไนโตรเจน-14 (โปรตอน 7 ตัว และนิวตรอน 7 ตัว) ไปอยู่ในรูปของคาร์บอน-14 (โปรตอน 6 ตัว และนิวตรอน 8 ตัว) และไฮโดรเจนอะตอม (โปรตอน 1 ตัว และไม่มีนิวตรอน)    คาร์บอน-14 เป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี ในขณะที่ธาตุคาร์บอนธรรมดาจะมีโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 6 ตัว และไม่เป็นธาตุกัมมันตภาพรังสี    ในธรรมชาติตามปรกติจะมีปริมาณคาร์บอน-14 ที่น้อยนิดเมื่อเปรียบเทียบกับคาร์บอนธรรมดา เช่นในต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ เราจะพบว่าจำนวนอะตอมของคาร์บอน-14 (สัญลักษณ์ C-14) ต่อจำนวนอะตอมของคาร์บอน-12 (C-12) จะเท่ากับ 1:1 ล้านล้าน




          ธาตุ C -14 มี ครึ่งชีวิต (half life) เท่ากับ 5,730 ปี ซึ่งหมายความว่าภายในเวลา 5,730 ปี ครึ่งหนึ่งของอะตอม C -14 ที่มีในวัตถุ จะสลายตัว และอีก 5,730 ปี ครึ่งหนึ่งของอะตอม C -14 ที่เหลือซึ่งก็คือ 1 ใน 4 ของของเดิมจะสลายตัว เป็นเช่นนี้ไปทีละครึ่งของที่มีในทุก 5,730 ปี จนกระทั่งอะตอมของ C -14 สลายตัวหมด    และเพราะเหตุว่าความร้อน ความเย็น หรือความดันใดๆ ไม่สามารถ ชะลอหรือเร่งเวลาในการสลายตัวของอะตอมเหล่านี้ได้เลย   ดังนั้นการรู้อัตราการสลายตัวของ C -14 ที่มีในวัตถุ จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ รู้อายุของวัตถุนั้นได้ทันที   วิธีการนี้เหมาะสำหรับการคำนวณหาอายุมวลสารที่มีอายุ 50 – 60,000 ปี
         
ผมได้รับข้อมูลการตรวจหาอายุพระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนูจากเพื่อนธรรมคนหนึ่ง   เห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาค้นคว้า   และเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือรับฟังได้ในทางวิทยาศาสตร์   จึงขออนุญาตนำข้อมูลดังกล่าวมาลงไว้
          เจ้าของพระได้นำพระสมเด็จพิมพ์ขอบล่างฟันหนู 5 องค์ ส่งไปตรวจที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตรวจหาอายุ   เนื่องจากการตรวจจำเป็นต้องบดองค์พระให้ละเอียดและมีจำนวนมวลสารมากพอ   จึงเป็นที่น่าเสียดายสำหรับองค์พระสวย ๆ ทั้ง 5 องค์ ตามภาพที่ปรากฏ









































          จากรายงานผลการทดสอบ .....ทำการวิเคราะห์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556    ผลการตรวจหาอายุ คือ  1170 ± 170 ปี    ตัวเลขนี้ผู้วิเคราะห์อธิบายว่า มวลสารที่เป็นองค์ประกอบในพระสมเด็จซึ่งมีอายุน้อยที่สุดคือ 170 ปี   และมวลสารที่มีอายุมากที่สุดคือ 1,170 ปี
          สรุปได้ว่า พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ขอบล่างฟันหนูมีอายุ 170 ปีล่วงมาแล้ว นับจากปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่ทดสอบ   เท่ากับว่าสร้างเมื่อปี 2386 โดยประมาณ   สอดคล้องกับข้อมูลหลักฐานที่เคยมีผู้พบพระสมเด็จพิมพ์นี้ใต้ฐานรูปหล่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ว่าสร้างระหว่างปี 2379 - 2387   สำหรับมวลสารบางส่วนในพระสมเด็จพิมพ์นี้ที่มีอายุประมาณ 1,170 ปี คงสันนิษฐานได้ว่าเป็นมวลสารจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์โบราณที่สมเด็จโตท่านนำมาผสมลงไป
          ข้อมูลการวิเคราะห์พระสมเด็จด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เช่นนี้   ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของ “ชมรมศึกษาวิจัยพระเครื่องไทย”  ตามลิงค์นี้  http://amulet-association5.blogspot.com/


เพิ่มเติม
๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ 

          วันนี้ได้สอบถามจากผู้วิเคราะห์โดยตรง   ได้รับคำอธิบายว่า ผลการวิเคราะห์จะแสดงอายุของมวลสารหรือคาร์บอเนตที่มีอายุมากที่สุด คือ 1,170 ปี     ตัวเลขบวกลบ 170 ปี คือค่าความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเป็นได้   เพราะฉะนั้น มวลสารหรือคาร์บอเนตที่มีอายุมากที่สุดของพระสมเด็จองค์ที่ตรวจสอบจึงมีอายุประมาณ 1,000 - 1,340 ปี   ไม่ได้เป็นการตรวจหาอายุว่า "สร้างเมื่อใด"    ใบรายงานผลการตรวจสอบจึงไม่ได้ระบุอายุการสร้างไว้     แต่ถ้าจะหาอายุการสร้างก็สามารถหาได้โดยใช้โปรแกรมคำนวณของต่างประเทศ  ซึ่งผู้วิเคราะห์เคยใช้โปรแกรมคำนวณหาอายุการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม  ก็ได้ผลการคำนวณออกมาราวปี 2409 - 2412  ใกล้เคียงกับประวัติการสร้าง  
          ข้อมูลที่ว่า ตัวเลข 170 คือ อายุมวลสารที่มีอายุน้อยที่สุดนั้น   ผมได้รับมาจากเพื่อนธรรมที่ส่งข้อมูลให้ซึ่งบอกว่าผู้วิเคราะห์บอกเช่นนั้น   คงเป็นความเข้าใจผิด   จึงขออภัยมา ณ ที่นี้

13 ความคิดเห็น:

  1. เป็นการพิสูจน์ที่ให้ความแม่นยำสูงสุดครับ แต่ผมเสียดายพระจังเลยครับ

    ตอบลบ
  2. มาดูที่นี่ก็ได้ครับ
    http://prawang.blogspot.com/p/blog-page_9728.html
    เลื่อนลงมาตรงลับลมคมนัย

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลแน่นมาก
    แต่เสียดายพระจัง

    ตอบลบ
  4. เรียน ท่านเจ้าของบล็อค
    ขอเรียนมาด้วยความเคารพและนับถือนะครับว่า ผลการตรวจหาอายุ คือ 1170 ± 170 ปี ตัวเลขนี้ผู้วิเคราะห์อธิบายว่า มวลสารที่เป็นองค์ประกอบในพระสมเด็จซึ่งมีอายุน้อยที่สุดคือ 170 ปี และมวลสารที่มีอายุมากที่สุดคือ 1,170 ปีนั้น ผมว่าผู้วิเคราะห์นั้นคงเข้าใจอะไรผิดนะครับ

    ผมคิดว่าเป็นการแปลความหมายของค่าที่ออกมาผิดนะครับ (จากเว็ปไซด์อ้างอิ้งนั้น) ความหมายที่น่าจะถูกต้องก็คืออายุของมวลสารเก่าสุดคือ 1000 ปี และมีค่าผันแปรโดยมวลสารเก่าสุดอาจจะเป็น 1170 ปี หรือ 830 ปี โดยไม่ใช่เป็นมวลสารอายุน้อยสุด 170 ปีครับ

    ถ้านำภาพผลการวิเคราะห์นี้ไปให้ใครก็ได้ที่อ่านผลแล็บเป็น ไม่ว่าจะเป็นแล็บไหนก็ได้ ก็จะได้ความหมายอย่างที่ว่านี้ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ

      ได้สอบถามจากผู้วิเคราะห์โดยตรงแล้วครับ ผู้วิเคราะห์อธิบายว่า ผลการวิเคราะห์จะแสดงอายุของมวลสารหรือคาร์บอเนตที่มีอายุมากที่สุด คือ 1,170 ปี ตัวเลขบวกลบ 170 ปี คือค่าความคลาดเคลื่อนที่อาจะเป็นได้ เพราะฉะนั้น มวลสารหรือคาร์บอเนตที่มีอายุมากที่สุดของพระสมเด็จองค์ที่ตรวจสอบจึงมีอายุประมาณ 1,000 - 1,340 ปี ไม่ได้เป็นการตรวจหาอายุว่า "สร้างเมื่อใด" ใบรายงานผลการตรวจสอบจึงไม่ได้ระบุอายุการสร้างไว้ แต่ถ้าจะหาอายุการสร้างก็สามารถหาได้โดยใช้โปรแกรมคำนวณของต่างประเทศ ซึ่งผู้วิเคราะห์เคยใช้โปรแกรมคำนวณหาอายุการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ก็ได้ผลการคำนวณออกมาราวปี 2409 - 2412 ใกล้เคียงกับประวัติการสร้าง

      จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมบทความให้ถูกต้องแล้วครับ

      ลบ
    2. นับถือท่านเจ้าของบล๊อคครับที่ได้มาชี้แจงให้ทราบกัน ขอขอบพระคุณครับ

      ลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ13 มกราคม 2557 เวลา 17:10

    ในเว็ปของชมรมศึกษาวิจัยพระเครื่องไทย ไม่เห็นมีการแก้ไขให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือจงใจให้คนเข้าใจดังว่าครับ

    ตอบลบ
  6. อาจเป็นความเข้าใจของผู้ทำเว็บก็ได้ เพราะเท่าที่ได้พูดคุยกับผู้ที่ส่งข้อมูลนี้ให้ เขาก็เข้าใจในทำนองนั้น ผมจึงลงข้อมูลไปตามที่ได้รับมาแต่แรกครับ

    ตอบลบ
  7. หลักวิทยาศร์พิสูจน์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลที่เชื่อถือได้

    ตอบลบ
  8. คุณ ไม่ระบุชื่อ13 มกราคม 2557 17:10 คุณได้ศิกษาและ รู้จริงหรือไม่ อย่าตี ลวน ถ้าคุณจริงใจ จงเปิดเผอญตัวจริง เพื่อศึกษาครับ ผม ภู ฯ 0801260435 ครับ

    ตอบลบ
  9. ความรู้ใหม่ ๆทั้งนั้นเลยครับ ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  10. https://mobile.facebook.com/notes/สมชาย-น้อยสาคร/๑๐๒-๒-ความจริงเรื่องคาร์บอน-14-กับการตรวจหาอายุพระฯ/759957434118090/?_rdr

    ตอบลบ
  11. https://mobile.facebook.com/notes/สมชาย-น้อยสาคร/๑๐๒-๒-ความจริงเรื่องคาร์บอน-14-กับการตรวจหาอายุพระฯ/759957434118090/?_rdr

    ตอบลบ