วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

พระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชร
         
            พระคาถาชินบัญชร มีการพิมพ์เผยแำพร่จากหลายบุคคล หลายสำนัก สืบต่อกันมา   ในแต่ละฉบับยังมีความแตกต่างกันอยู่   ข้อมูลต่อไปนี้น่าจะช่วยยังความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น


ขอบคุณที่มา : wikipedia

 พระคาถาชินบัญชร  (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด    สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา    ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช    ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ ๔)    บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย

ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า    และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่ากรง ลูกกรง ซี่กรง   รวมกันเป็นชินบัญชร    ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัยอันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

คาถาชินบัญชร เป็นที่นับถือสวดกันอย่างแพร่หลาย กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม    นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยได้นำมาขอให้แปล เพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว    แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้    ทั้งเมื่อได้พบจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างได้    ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เรียบเรียงขึ้นเองหรือได้ต้นฉบับมาจากไหน
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาให้เล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็ก พิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma (กระจกธรรม) โดยท่านนารทมหาเถระ และท่านกัสสปเถระ    ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ (ของศรีลังกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๕๐๓ ของไทย) ค.ศ.๑๙๖๑    เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่จะใช่สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้    เริ่มแต่ นโมพุทฺธ ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐   คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย  คำบูชา  คำสมาธิภาวนาต่าง ๆ   บทสวดมี พาหุง ชินบัญชร มงคลสูตร รัตนสูตร เป็นต้น    ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหฬและอักษรโรมัน    มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ    เมื่อได้อ่านชินบัญชรในหนังสือเล่มนี้แล้วก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย    ซึ่งจับความได้ หายความข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดจะปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตรฉบับลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย
ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้ว ก็รู้สึกว่าต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่    ฉบับลังกานั้นมี ๒๒ บท    ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี ๑๔ บท ก็คือ ๑๔ บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก    ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ ๑๔ ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก    คาถาบทที่ ๙ ของฉบับไทย บรรทัดที่ ๒ น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้    ส่วนคาถาบทที่ ๑๒ และ ๑๓ สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี
ในการพิมพ์ครั้งนี้ เรียงชินบัญชรฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ปรับปรุงขึ้นใหม่ อนุวัตรแบบลังกา เฉพาะที่เห็นว่าสมควร และมีคำแปลเป็นภาษาไทย ที่แปลขึ้นใหม่ในคราวนี้เช่นเดียวกัน    ในการแปลครั้งนี้ ไม่ได้เทียบกับคำแปลเก่าที่เคยแปลไว้เพราะไม่พบฉบับที่แปลไว้    บทสวด พาหุง และชินบัญชร เป็นที่นิยมสวดกันในเมืองไทยมาช้านาน  แต่บทสวดพาหุง มีถ้อยคำที่ยุติแน่นอน ส่วนบทสวดชินบัญชร แต่ละฉบับ แต่ละสำนัก ยังผิดแผกกันอยู่ ถ้าอาจทำให้ยุติเป็นแบบเดียวกันได้ ก็จะเป็นการดี
(สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ตุลาคม ๒๕๑๘)

การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น (ยิ่งขึ้นมากยิ่งดี)    ให้เตรียมดอกไม้ ๓ สี หรือดอกบัว ๙ ดอก  ดอกมะลิร่วง (เด็ดก้านดอก) ๑ กำ  ธูปหอมอย่างดี ๙ ดอก  เทียน (เล่มหนัก ๑ บาท ถ้าไม่มีใช้ ๒ บาท แต่ควรใช้ ๑ บาทเพื่อเป็นสิริมงคล) จำนวน ๙ เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม ๓ จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ    แล้วตั้งจิตระลึกถึงเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)

ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)

ปุตฺตกาโม ลเภ ปุตฺตํ ธนกาโม ลเภ ธนํ อตฺถิกาเย กาย ญาย เทวานํ ปิยตํ สุตวา

อิติปิโส ภควา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวณฺโณ มรณํ สุขํ อรหฺ สุคโต นโมพุทฺธาย 
(ภายหลังมีผู้นำบทบูชาท้าวเวสสุวรรณมาต่อเติม  ซึ่งแต่เิดิมมิได้อยู่ในบทของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมร๋สี))

๑.   ชยาสนาคตา พุทฺธา    เชตวามารํสวาหนํ    จตุสจฺจาสภํรสํ    เย ปิวึสุ นราสภา
๒.   ตณฺหํกราทโยพุทฺธา    อฏฺฐวีสติ นายกา    สพฺเพปติฏฺฐิตามยฺหํ    มตฺถเก เต มุนิสฺสรา
๓.   สีเส ปติฏฺฐิโต มยฺหํ    พุทฺโธ ธมฺโม ทวิโลจเน    สงฺโฆ ปติฏฺฐิโตมยฺหํ    อุเร สพฺพคุณากโร
๔.   หทเย เม อนุรุทฺโธ  สารีปุตฺโต จ ทกฺขิเณ  โกณฺฑญฺโญ ปิฏฐิภาคสฺมึ  โมคฺคลฺลาโน จ วามเก
๕.   ทกฺขิเณ สวเน มยฺหํ    อาสุ ํ อานนฺทราหุลา    กสฺสโป จ มหานาโม    อุภาสุ ํ วามโสตะเก
๖.   เกสนฺเต ปิฏฺฐิภาคสฺมึ    สุริโยว ปภํกโร    นิสินฺโน สิริสมฺปนฺโน    โสภิโต มุนิปุ ํคโว
๗.   กุมารกสฺสโป เถโร    มเหสีจิตฺตวาทโก    โส มยฺหํ วทเนนิจฺจํ    ปติฏฺฐาสิคุณากโร
๘.   ปุณฺโณ องฺคุลิมาโล จ    อุปาลี นนฺทสีวลี    เถรา ปญฺจ อิเม ชาตา    นลาเฏ ติลกา มม
๙.   เสสาสีติ มหาเถรา    วิชิตา ชินสาวกา    เอตาสีติ มหาเถรา    ชิตวนฺโต ชิโนรสา     
      ชลนฺตา สีลเตเชน    องฺคมํเคสุ สณฺฐิตา
๑๐. รตนํ ปุรโต อาสิ    ทกฺขิเณ เมตฺตสุตฺตกํ    ธชคฺคํ ปจฺฉโต อาสิ    วาเม องฺคุลิมาลกํ
๑๑. ขนฺธโมรปริตตญฺจ    อาฏานาฏิยสุตฺตกํ    อากาเสฉทนํ อาสิ    เสสา ปาการสณฺฐิตา
๑๒. ชินาณาวรสํยุตฺตา    สัตฺต ปาการลํกตา    วาตปิตฺตาทิสญฺชาตา    พาหิรชฺฌตฺตุปทฺทวา
๑๓. อเสสา วินยํ ยนฺตุ    อนนฺตชินเตชสา    วสโต เม สกิจฺเจน    สทา สัมฺพุทฺธปัญฺชเร
๑๔. ชินปญฺชรมชฺฌมฺหิ    วิหรนฺตํ มหีตเล
      สทา ปาเลนฺตุมํ     สพฺเพ เต มหาปุริสาสภา 
      อิจฺเจวมนฺโต     สุคุตฺโต สุรกฺโข
      ชินานุภาเวน     ชิตุปทฺทโว
      ธมฺมานุภาเวน   ชิตาริสํโค
      สงฺฆานุภาเวน   ชิตนฺตราโย
       สทฺธมฺมานุภาวปาลิโต  จรามิ  ชินปญฺชเรติ

หมายเหตุ
- บางฉบับเป็น " ทกฺขิเณ สวเน มยฺหํ    อาสุ ํ อานนฺทราหุโล"   แต่เนื่องจาก อาสุ ํ เป็นพหุพจน์   ดังนั้นคำว่า อานนฺทราหุลา จึงต้องเป็นพหุพจน์ด้วย จึงจะไม่ผิดไวยากรณ์


- เอตาสีติ มาจาก เอเต + อสีติ ซึ่งเป็นโลปสระสนธิ จึงต้องตัด เ- ที่ เต ออก เป็น เอต (เอ-ตะ) แล้วเชื่อมกับ อสีติ เมื่อรัสสะสระ ๒ ตัวรวมกัน ต้องทีฆะ (ทำให้มีเสียงยาว) จึงเป็น เอตาสีติ) แปลว่า พระมหาเถระทั้ง ๘๐ เหล่านั้น ผู้มีความชนะ เป็นโอรสของพระพุทธชิน

- ชินาณา เกิดจาก ชิน + อาณา โดย อาณา แปลว่า "อำนาจ"    หากพิมพ์เป็น ชินานานา จะไม่สามารถแปลความหมายได้

- มหีตเล  บาลีออกเีสียงว่า มะ-ฮี-ตะ-เล

- บางส่วน ถูกแก้ไขตามไวยากรณ์ ตามฉบับซึ่งตรวจโดยพระเทพวิสุทธิเมธี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) เจ้าคณะภาค ๑๑ วัดระฆังโฆสิตาราม (๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๑)


คำแปล

1.  พุทธะทั้งหลายทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนา พาหนะ เสด็จสู่พระที่นั่งแห่งชัยชนะแล้ว พระพุทธะใดเล่า ทรงเป็นผู้ประเสริฐแห่งนรชน ทรงดื่มอมตรสแห่งสัจจะทั้งสี่แล้ว

2.   พระพุทธะทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ มีพระตัณหังกรเป็นต้น ทรงเป็นพระนายกผู้นำโลก พระมุเนศวรจอมมุนี ทุกพระองค์นั้น ทรงสถิตประทับบนกระหม่อมแห่งข้าพเจ้า

3.   พระพุทธะทั้งหลาย ทรงสถิตประทับบนศีรษะ พระธรรม สถิตประทับที่ดวงตาของข้าพเจ้า พระสงฆ์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณทั้งปวง สถิตประทับที่อุระของข้าพเจ้า

4.  พระอนุรุทธประทับที่หทัย พระสารีบุตรประทับที่เบื้องขวา พระโกณฑัญญะประทับที่เบื้องหลัง พระโมคคัลลานะประทับที่เบื้องซ้าย

5.  พระอานนท์และพระราหุล ประทับที่หูเบื้องขวาของข้าพเจ้า ประกัสสปะและพระมหานามะ ทั้งสองประทับที่หูเบื้องซ้าย

6.  พระโสภิตผู้เป็นมุนีที่แกล้วกล้า ถึงพร้อมด้วยสิริ เหมือนอย่างดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง ประทับที่สุดผมส่วนเบื้องหลัง

7.  พระเถระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีวาทะอันวิจิตร ชื่อกุมารกัสสป ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้น ประทับที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์

8.  พระเถระห้าพระองค์เหล่านี้ คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ พระสีวลี เกิดเหมือนอย่างดิลก (รอยเจิม) ที่หน้าผากของข้าพเจ้า

9.  พระมหาเถระทั้งหลาย ๘๐ ที่เหลือจากนี้ ผู้ชนะ ผู้เป็นสาวกของพระสาวกของพระพุทธะผู้ทรงชนะ ๑ รุ่งเรืองอยู่ด้วยเดชแห่งศีล สถิตอยู่ที่องคาพยพทั้งหลาย

10. พระรตนสูตรประจุอยู่เบื้องหน้า พระเมตตสูตรประจุอยู่เบื้องขวา พระธชัคคสูตรประจุอยู่เบื้องหลัง พระอังคุลิมาลสูตรประจุอยู่เบื้องซ้าย

11. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเหมือนอย่างฟ้าครอบ พระสูตรปริตรทั้งหลายที่เหลือ กำหนดหมายเป็นปราการ

12. เมื่อข้าพเจ้าอาศัยอยู่ด้วยกิจทั้ง ๔ อย่าง ในบัญชรแห่งพระสัมพุทธะ ประกอบด้วยลานเขต แห่งอาณาอำนาจ แห่งพระพุทธะผู้ทรงชนะ ประดับด้วยปราการคือพระธรรมทุกเมื่อ

13. ขออุปัทวะ (เครื่องขัดข้อง) ทั้งภายนอก ทั้งภายใน ทั้งหลาย ที่เกิดจากลมและน้ำดีเป็นต้น จงถึงความสิ้นไป ไม่มีเหลือ ด้วยเดชแห่งพระชินะผู้ไม่มีที่สุด

14. ขอพระมหาบุรุษ ผู้เลิศกล้าทั้งหลายทั้งปวงนั้น โปรดอภิบาลแก่ข้าพเจ้า ผู้สถิตในท่ามกลาง
     แห่งพระชินบัญชร อยู่บนพื้นแผ่นดิน   ข้าพเจ้ามีความรักษาดี โดยทำให้ครบถ้วนทุกทางอย่าง
     นี้   ด้วยประการฉะนี้ ขอจงชนะอุปัทวะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธะผู้ทรงชนะ   ชนะข้าศึก
      ขัดข้อง   ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม  ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
     อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมอภิบาล ประพฤติอยู่ในชินบัญชรเทอญ ฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น